นายศิริพงษ์ เหง้าสุวรรณ นายก อบต.หนองสังข์
|
เปิดเว็บไซต์ |
16/12/2016 |
ปรับปรุง |
12/05/2022 |
สถิติผู้เข้าชม |
363021 |
Page Views |
767044 |
|
|
บทที่ ๒
สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองสังข์
2.1 ข้อมูลทั่วไป
1.) ที่ตั้ง
ตำบลหนองสังข์ อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม ได้ยกฐานะเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลหนองสังข์ เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2539 โดยประกาศกระทรวงมหาดไทย ตั้งอยู่ในเขตอำเภอนาแก ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลตั้งอยู่บ้านหนองสังข์ หมู่ที่ 1 ห่างจากที่ว่าการอำเภอนาแกประมาณ 7 กิโลเมตร มีหมู่บ้านจำนวน 12 หมู่บ้าน ประกอบด้วย
หมู่ที่ 1 บ้านหนองสังข์ หมู่ที่ 7 บ้านหนองสังข์
หมู่ที่ 2 บ้านหนองสังข์ หมู่ที่ 8 บ้านหนองสังข์
หมู่ที่ 3 บ้านคำเม็ก หมู่ที่ 9 บ้านคำเม็ก
หมู่ที่ 4 บ้านหนองห้าง หมู่ที่ 10 บ้านหนองสังข์
หมู่ที่ 5 บ้านหนองกุง หมู่ที่ 11 บ้านหนองไผ่พัฒนา
หมู่ที่ 6 บ้านส้มป่อย หมู่ที่ 12 บ้านดอนสักทอง
2.) เนื้อที่
มีเนื้อที่ทั้งหมด 24,807 ไร่ (39.77 ตารางกิโลเมตร) เป็นพื้นที่เกษตรกรรม 20,891 ไร่
3.) ภูมิประเทศ
ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มตามริมน้ำก่ำ พื้นที่มีลักษณะลาดเอียงจากทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ พื้นที่ด้านทิศตะวันตกและทิศใต้มีลำน้ำก่ำเป็นแนวเขตตำบล พื้นที่โดยทั่วไปเป็นทุ่งนา
4.) เขตการปกครอง
ทิศเหนือ ติด ตำบลวังยาง อำเภอวังยาง
ทิศใต้ ติด ตำบลบ้านแก้ง อำเภอนาแก
ทิศตะวันออก ติด ตำบลนาคู่ อำเภอนาแก
ทิศตะวันตก ติด ตำบลวังยาง อำเภอวังยาง
5.) ครัวเรือนและประชากร
- จำนวนครัวเรือนทั้งหมด ๒,129 ครัวเรือน
- จำนวนประชากร 7,330 คน
ชาย 3,608 คน
หญิง 3,722 คน
มีความหนาแน่นเฉลี่ย 188 คน / ตร.กม. (ข้อมูลจากสำนักงานทะเบียนอำเภอนาแก ณ วันที่ 20 ม.ค. 59)
6.) แหล่งที่มาของรายได้และอาชีพ
- อาชีพหลักของราษฎร คือ การทำนา ผลผลิตเฉลี่ย 440 กก./ไร่ หลังฤดูเก็บเกี่ยว ราษฎรปลูกพืชอื่น ๆ เพื่อเป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัว ได้แก่
พืชผักสวนครัว การเลี้ยงสัตว์ การทอผ้าตัดเย็บเสื้อผ้า ราษฎรมีรายได้ประจำเฉลี่ย/คน/ปี ประมาณ 52,820.- บาท / ปี หรือรายได้ครัวเรือนเฉลี่ย 175,451 บาท/ปี (ข้อมูล จปฐ. ระดับตำบลหนองสังข์ ประจำปี 2559)
- อาชีพหลักคือทำนาปี โดยมีรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือน 84,896 บาท/ปี
- อาชีพรอง โดยมีรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือน 42,824 บาท/ปี
- แหล่งรายได้อื่นเฉลี่ยต่อครัวเรือน 22,523 บาท/ปี
- การปลูก เลี้ยง หาเอง เฉลี่ยต่อครัวเรือน 25,208 บาท/ปี
* หมายเหตุ : ข้อมูล จปฐ. ระดับตำบลหนองสังข์ ประจำปี 2559
7.) หน่วยธุรกิจในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล
- โรงแรม - แห่ง
- ปั๊มน้ำมัน 11 แห่ง (ขนาดกลาง ขนาดเล็กและแบบหยอดเหรียญ )
- โรงงานอุตสาหกรรม 3 แห่ง
- โรงสี 43 แห่ง
- ร้านค้า 56 แห่ง
- ร้านซ่อมยานยนต์และเครื่องจักรกล 6 แห่ง
8.) สภาพทางสังคม
8.1 การศึกษา
- โรงเรียนประถมศึกษา 3 แห่ง
- โรงเรียนมัธยมศึกษา - แห่ง
- โรงเรียนอาชีวศึกษา - แห่ง
- โรงเรียนขยายโอกาส 1 แห่ง
- ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน 12 แห่ง
- ห้องสมุดประชาชน 1 แห่ง
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 6 แห่ง
- วัด/สำนักสงฆ์ 9 แห่ง
8.2 สาธารณสุข
- โรงพยาบาลของรัฐขนาด - เตียง - แห่ง
- สถานีอนามัยประจำตำบล/หมู่บ้าน หรือ รพ.สต. 2 แห่ง
- สถานพยาบาลเอกชน - แห่ง
- อัตราการใช้ส้วมราดน้ำ ร้อยละ 100
8.3 ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
- สถานีตำรวจ - แห่ง
- สถานีดับเพลิง - แห่ง
9.) การบริการพื้นฐาน
9.1 การคมนาคม
- ถนนเข้าอำเภอ เป็นถนนลาดยาง จำนวน 2 สาย
- ถนนติดต่อระหว่างหมู่บ้าน เป็นถนนลาดยาง จำนวน 2 สาย
เป็นถนนคอนกรีต จำนวน - สาย
เป็นถนนลูกรัง จำนวน 1 สาย
9.2 การโทรคมนาคม
- ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข - แห่ง
- สถานีโทรคมนาคม อื่น ๆ 12 แห่ง (โทรศัพท์สาธารณะ)
9.3 การไฟฟ้า
- หมู่บ้านที่ใช้ไฟฟ้าเข้าถึง จำนวน 12 หมู่บ้าน
- จำนวนประชากรที่ใช้ไฟฟ้า จำนวน 1,912 ครัวเรือน
- จำนวนประชากรที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ จำนวน - ครัวเรือน
9.4 แหล่งน้ำธรรมชาติ
- ลำน้ำ , ลำห้วย 10 แห่ง
- หนองบึงและอื่น ๆ 40 แห่ง
- ฝาย 5 แห่ง
9.5 แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น
- บ่อน้ำตื้น 2 แห่ง
- บ่อโยก , บ่อบาดาล 26 แห่ง
- สระน้ำ 26 แห่ง
10.) ข้อมูลอื่น ๆ
10.1 ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่
- ทรัพยากรธรรมชาติในตำบลมีป่าสงวน ประมาณ 100 ไร่
10.2 ศักยภาพของตำบล/มวลชนจัดตั้ง/องค์กรประชาชนในตำบล
- สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลมี 12 หมู่บ้าน จำนวน 24 คน
- คณะกรรมการพัฒนาสตรีระดับตำบล จำนวน 18 คน
- คณะกรรมการพัฒนาสตรีระดับหมู่บ้าน จำนวน 135 คน
- คณะกรรมการหมู่บ้าน จำนวน 72 คน
- คณะกรรมการเยาวชนระดับตำบล จำนวน 12 คน
- คณะกรรมการเยาวชนระดับหมู่บ้าน จำนวน 110 คน
- ผู้นำอาสาพัฒนาชุมชน (ผู้นำ อช.) จำนวน 16 คน
- ลูกเสือชาวบ้าน 2 รุ่น จำนวน 300 คน
- ไทยอาสาป้องกันชาติ จำนวน 245 คน
- กองหนุนเพื่อความมั่นคง จำนวน 146 คน
- อาสาสมัครสาธารณสุข จำนวน 155 คน
- อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน อปพร. จำนวน 13๔ คน
- อาสาสมัครกู้ชีพ จำนวน 42 คน
- การรวมกลุ่มของประชาชนทุกประเภท จำนวน 6 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มออมทรัพย์ผู้ใช้ปุ๋ย , กลุ่มทอผ้า , กลุ่มเลี้ยงสุกร , กลุ่มเลี้ยงปลา , กลุ่มเพาะเห็ด,
กลุ่มผลิตภัณฑ์พื้นบ้าน
11.) รายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบล ประจำปีงบประมาณ 2558
- รายได้ที่องค์การบริหารส่วนตำบลจัดเก็บเอง จำนวน 305,214 บาท
- รายได้ที่หน่วยงานอื่นจัดเก็บให้ จำนวน 16,001,004 บาท
- เงินอุดหนุนจากรัฐบาล จำนวน 11,798,876 บาท
- รายได้เบ็ดเตล็ด จำนวน 308,390 บาท
รวมทั้งสิ้น 28,413,524.14 บาท
๑2.) ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ
รายได้ของประชากร รายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปีของประชากรในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล แยกตามรายหมู่บ้าน ดังนี้
ชื่อหมู่บ้าน |
หมู่ที่ |
ตำบล |
รายได้บุคคลเฉลี่ย (บาท/ปี) |
|
ชื่อหมู่บ้าน |
หมู่ที่ |
ตำบล |
รายได้บุคคลเฉลี่ย (บาท/ปี) |
หนองสังข์ |
๑ |
หนองสังข์ |
65,833 |
|
หนองสังข์ |
๘ |
หนองสังข์ |
48,650 |
หนองสังข์ |
๒ |
หนองสังข์ |
43,271 |
|
คำเม็ก |
9 |
หนองสังข์ |
47,062 |
คำเม็ก |
๓ |
หนองสังข์ |
41,500 |
|
หนองสังข์ |
๑๐ |
หนองสังข์ |
53,828 |
หนองห้าง |
๔ |
หนองสังข์ |
45,668 |
|
หนองไผ่พัฒนา |
๑๑ |
หนองสังข์ |
48,175 |
หนองกุง |
๕ |
หนองสังข์ |
54,118 |
|
ดอนสักทอง |
๑๒ |
หนองสังข์ |
127,699 |
ส้มป่อย |
6 |
หนองสังข์ |
45,961 |
|
|
|
|
|
หนองสังข์ |
๗ |
หนองสังข์ |
43,488 |
|
รวมรายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปี |
52,820 |
หมายเหตุ : ข้อมูล จปฐ.ปี ๒๕๕9 ณ วันที่ 14 มี.ค. ๕9
๑๓.) ข้อมูลประชากร ณ วันที่ 20 มกราคม 2559 (สำนักงานทะเบียนอำเภอนาแก)
ชื่อหมู่บ้าน |
จำนวนครัวเรือน |
ชาย |
หญิง |
รวม |
หนองสังข์ หมู่ที่ 1 |
233 |
444 |
470 |
914 |
หนองสังข์ หมู่ที่ 2 |
183 |
361 |
413 |
774 |
คำเม็ก หมู่ที่ 3 |
259 |
391 |
382 |
773 |
หนองห้าง หมู่ที่ 4 |
167 |
295 |
312 |
607 |
หนองกุง หมู่ที่ 5 |
134 |
254 |
246 |
500 |
ส้มป่อย หมู่ที่ 6 |
187 |
274 |
253 |
527 |
หนองสังข์ หมู่ที่ 7 |
157 |
283 |
285 |
568 |
หนองสังข์ หมู่ที่ 8 |
163 |
270 |
294 |
564 |
คำเม็ก หมู่ที่ 9 |
225 |
363 |
384 |
747 |
หนองสังข์ หมู่ที่ 10 |
128 |
241 |
243 |
484 |
หนองไผ่พัฒนา หมู่ที่ 11 |
174 |
265 |
261 |
526 |
ดอนสักททอง หมู่ที่ 12 |
119 |
167 |
179 |
346 |
รวม |
2,129 |
3,608 |
3,722 |
7,330 |
๑๔.) ข้อมูลด้านการเมืองการบริหาร
๑.ผู้บริหารท้องถิ่น – นายก อบต. ๑ คน
- รองนายก อบต. ๒ คน
- เลขานุการนายก อบต. ๑ คน
๒.สมาชิกสภาท้องถิ่น จำนวน ๒๔ คน
๓.หน่วยเลือกตั้งและที่เลือกตั้ง จำนวน ๑๒ หน่วย
2.2 ข้อมูลเกี่ยวกับศักยภาพขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองสังข์
๑.) อัตรากำลังบุคลากร 53 คน
-พนักงานส่วนตำบล ๑6 คน -ลูกจ้างประจำ ๑ คน
-พนักงานจ้างตามภารกิจ ๑5 คน -พนักงานจ้างทั่วไป ๑ คน
-ครูผู้ดูแลเด็ก 12 คน
- ผู้ดูแลเด็ก ๘ คน
๒.) การคลังขององค์การบริหารส่วนตำบล
สถิติแสดงฐานะทางการคลังขององค์การบริหารส่วนตำบล เปรียบเทียบย้อนหลัง ๕ ปี
รายการ |
พ.ศ.๒๕๕4 |
พ.ศ.๒๕๕5 |
พ.ศ.๒๕๕6 |
พ.ศ.๒๕๕7 |
พ.ศ. 2558 |
รายรับจริง (บาท) |
๒๑,๗๔๕,๕๕๕.๗๕ |
๒๓,๖๑๕๒๗๒.๓๙ |
๒๘,๘๐๐,๕๘๐.๙๙ |
27,372,693.28 |
28,413,524.14 |
รายจ่ายจริง
(บาท) |
๑๘,๖๖๑,๕๑๗.๒๑ |
๑๙,๐๙๙,๖๕๖.๗๐ |
๒๒,๐๗๔,๙๕๐.๑๗ |
25,253,158.71 |
27,514,423.63 |
๓.) โครงสร้างการแบ่งส่วนราชการ อบต. หนองสังข์

2.3 จุดยืนทางยุทธศาสตร์ (Positioning) ขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองสังข์
องค์การบริหารส่วนตำบลหนองสังข์ เป็นหน่วยงานที่มีวิสัยทัศน์ “ร่วมใจพัฒนา รักษาขนบธรรมเนียมประเพณี สามัคคีมีวินัย ใส่ใจการศึกษา” โดยการมุ่งเน้นการพัฒนาจากทุกภาคส่วนให้มีส่วนร่วมในการบูรณาการร่วมกัน เพื่อพัฒนาท้องถิ่นให้มีความเจริญรุ่งเรืองภายใต้แนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและหลักธรรมาภิบาล ดังนั้น องค์การบริหารส่วนตำบลหนองสังข์จึงมีแนวทางหรือจุดยืนทางยุทธศาสตร์การพัฒนา อยู่ด้วยกัน ๖ ด้าน ดังนี้
๑. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน
๒. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการเกษตร เศรษฐกิจและการท่องเที่ยว
๓. ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
๔. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น
๕. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
๖. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการบริหารจัดการและการบริการ
|
|